หลอดเลือด ถนนแห่งชีวิต

Vasiflo หลอดเลือด ถนนแห่งชีวิต
Flow your Vein

เนื้อหา

หลอดเลือดเปรียบเสมือนถนนเส้นต่างๆในร่างกาย มีหลายสายหลายเส้นทาง ถนนเส็นเล็กเส้นใหญ่ ที่คอยทำหน้าที่ขนส่งสารอาหาร ออกซิเจน ระบบภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน และอื่นๆไปยังบริเวณต่างๆทั่วร่างกาย เมื่อใดที่ถนนสกปรก จากคราบตะกรันของไขมันจับที่เส้นเลือด หรือ เกิดการทำลายหลอดเลือดด้วยอนุมูลอิสระต่างๆ จนทำให้ถนนของหลอดเลือดไม่สะอาดและราบเรียบเหมือนเดิม  การจราจรขนส่งสารอาหาร อออกซิเจน และสิ่งต่างๆก็จะติดขัด เลือดเดินทางไปยังบริเวณต่างๆไม่สะดวก ทำให้เลือดไปเลี้ยงได้น้อยลง เกิดการขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน หรือ เกิดการก่อตัวของลิ่มเลือดไปอุดตันอวัยวะต่างๆที่สำคัญ ก็จะก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามมา อย่างเช่นโรคหัวใจและสมองขาดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจและหลอดเลือด

          โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 ในคนไทย ซึ่งความน่ากลัวอยู่ตรงที่ว่าโรคเหล่านี้เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจจะเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หรือ สโตรก Stroke กลายเป็นอัมพาตหรือถึงแก่ชีวิตไปแล้ว โดยพบว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 40% ของผู้ป่วยทั้งหมดนั้น เสียชีวิตทันทีโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ถ้าเป็นแล้วค่อยมาดูแลอาจไม่ทันการ 

          กลไกของหลอดเลือดแข็งตัว เริ่มจากเกิดการแทรกตัวของไขมันเลวชนิด LDL cholesterol เข้าสู่ผนังหลอดเลือดแดง แล้วไปเจอกับอนุมูลอิสระ อนุมุลอิสระจะเข้าไปจับตัวกับ LDL cholesterol ที่ผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดออกซิเดชั่นของไขมัน LDL cholesterol กลายเป็น Oxidized-LDL cholesterol ซึ่งร่างกายถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้เหล่าเม็ดเลือดขาวเข้ามาบุกจับกินจนก่อให้เกิดขบวนการอักเสบ และเกิดการสร้างเส้นใยต่างๆมาผสานเหมือนตอนที่เรามีบาดแผล กลายเป็นคราบพลาคเกาะตามหลอดเลือด เป็นที่มาของการเกิดหลอดเลือดอักเสบ ตีบตัน และแข็งตัว


เมื่อเราทราบสาเหตุของการเกิดหลอดเลือดอักเสบและแข็งตัวแล้ว การป้องกันตัวเองจากภาวะนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ดังนี้

  1. ลดการเกิดคลอเลสเตอรอล ชนิดเลวในหลอดเลือด ในเมื่อ LDL cholesterolเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว เราก็ควรจะลดต้นตอของปัญหา โดยเริ่มง่ายๆจากการเลือกรับประทานอาหารที่ดีที่ช่วยลดไขมันตัวเลวในร่างกาย เช่น กระเทียม, น้ำมันปลา, สเตอรอลที่ได้จากพืช เป็นต้น ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ
  2. ขจัดสารก่ออนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุทำให้เกิด oxidized LDL cholesterol ซึ่งการที่เราจะหลีกเลี่ยงอนุมูลอิสระเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากอนุมูลอิสระมาได้จากทั้งความเครียด มลภาวะ สารเคมี อาหารทอด หรือบางคนถึงกับกล่าวว่า แค่หายใจหรือย่อยอาหาร เราก็ได้รับอนุมูลอิสระแล้ว เปรียบเหมือนการเผาไหม้ ยังไงก็ต้องเกิดควัน ดังนั้นการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
  3. ลดการอักเสบของหลอดเลือด เพื่อไม่ให้หลอดเลือดเกิดการบาดเจ็บจนสร้างพลาคแข็งเกาะตามหลอดเลือด ในปัจจุบันพบว่ามีสารอาหารมากมายที่สามารถลดการอักเสบในร่างกายรวมถึงหลอดเลือดได้ เช่น โอเมก้า3, ขมิ้นชัน, สารสกัดจากผลกุหลาบป่า เป็นต้น
  4. เพิ่มพลังงานให้แก่อวัยวะที่สำคัญอย่างเช่น หัวใจ นอกเหนือจากการดูแลถนนหลอดเลือดให้สะอาดแล้ว การดูแลหัวใจก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานตลอดเวลาเพื่อคอยสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ยิ่งถ้าเจอหลอดเลือดที่ไม่สะอาด เกิดการไหลเวียนของเลือดไม่ดี หัวใจก็ยิ่งต้องทำงานหนักขึ้น ต้องเพิ่มความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น ย่อมเกิดความอ่อนล้าเป็นธรรมดา สารอาหารที่ช่วยในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ ได้แก่ โคเอนไซม์คิวเทน ซึ่งพบมากในอาหารพวกบร็อคโคลี่ ถั่ว ผักโขม และถั่วเหลือง

 

เคลียร์ถนนให้สะอาด ด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับหัวใจและหลอดเลือด

Fish oil
น้ำมันปลา (Fish oil)

          น้ำมันปลา (Fish Oil) อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ กรดไขมัน 2 ชนิด ได้แก่ EPA และ DHA มีคุณสมบัติในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และลดการอักเสบที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจและสมองขาดเลือด โดยมีงานวิจัยชื่อว่า GISSI trial พบว่าการรับประทานน้ำมันปลา ช่วยป้องกันหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากนี้การรับประทานโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลา ยังช่วยรักษาสมดุลของโอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 ในร่างกายซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเมื่อรับประทานโอเมก้า 6 เข้าไปในร่างกาย จะถูกเปลี่ยนไปเป็น อีโคซานอยด์ชนิดเลว ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย พบได้มากจากไขมันสัตว์ ไขมันพืช แต่โอเมก้า 3 จะถูกเปลี่ยนไปเป็น อีโคซานอยด์ชนิดดี ที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ดังนั้นผู้ที่ชื่นชอบการรับประทาน อาหารทอด อาหารมันต่างๆ จึงพบว่ามีความต้องการน้ำมันปลาที่สูงกว่าคนทั่วไป เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดอักเสบและอุดตันในอนาคต

Phytosterols หรือ Plant sterols
แหล่งอาหารที่มี Phytosterols หรือ Plant sterols

          ไฟโตนิวเทรียนท์ หรือ สเตอรอล  (Phytosterols หรือ Plant sterols)  ที่ได้จากพืช ด้วยความที่มีโครงสร้างคล้ายคอเลสเตอรอล ทำให้ Phytosterols สามารถไปจับกับตัวรับ หรือ ไมเซลล์ที่ใช้ในการดูดซึมคลอเลสเตอรอลในลำไส้ ทำให้จำนวนไมเซลล์ที่จะใช้ในการดูดซึมคลอเลสเตอรอลลดน้อยลง จึงลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกายได้ มีการศึกษาพบว่าการรับประทาน Phytosterols 2 กรัมต่อวัน สามารถลดระดับ LDL-cholesterol ลงได้ 8-10%

Garlic
กระเทียม (Garlic)

          กระเทียม(Garlic)  เป็นสมุนไพรขึ้นชื่อที่นิยมนำมาดูแลเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เนื่องด้วยในกระเทียมมีสารสำคัญหลายอย่าง โดยเฉพาะ S-Allylcysteine (SAC) และ Allicin ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างแรง ช่วยลดการเกิดภาวะ oxidative stress จึงทำให้ไขมันชนิด LDL-cholesterol  ไม่เปลี่ยนรูปเป็นไขมันเลว (Oxidized LDL cholesterol) ไปเกาะตามหลอดเลือด นอกจากนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และ ลดไขมันคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวได้ แต่การทานกระเทียมสดนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยสารสำคัญในกระเทียมสดจะเกิดขึ้นได้ ต้องตีกระเทียมสดให้แตกก่อนและรอให้ทำปฏิกิริยากับอากาศ และสารนั้นก็จะสูญสลายไปอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น นอกจากนั้นกระเทียมสดยังอาจเกิดการระคายในกระเพาะได้อีกด้วย

Alpha Lipoic Acid
แหล่งอาหาร Alpha Lipoic Acid

          Alpha Lipoic Acid (ALA)  เป็นกรดไขมันที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้ ถูกเรียกว่าเป็น “Universal Antioxidant” เพราะสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน จึงมีความสามารถแพร่เข้าไปได้ในทุกเซลล์ของร่างกายเพื่อไปกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกาย เป็น Metabolic Antioxidant ช่วยดึงน้ำตาลในเลือดไปผลิตเป็นพลังงาน จึงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย 

Q10
แหล่งอาหารโคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10)

          โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) เป็นสารอาหารคุ้นหู ที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจแค่เพียงว่าเป็นสารอาหารเพื่อความงาม แต่ความจริงแล้ว โคเอนไซม์คิวเทน เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ ไมโตรคอนเดรีย(Mitochondria) ที่เปรียบเสมือนโรงไฟฟ้าของเซลล์ มีหน้าที่ในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ โดยการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานผ่านทางกระบวนการที่มีชื่อว่า Kreb’s cycle ดังนั้นอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานอยู่ตลอดเวลาอย่างเช่น หัวใจ สมอง และ ต่อมหมวกไต จึงมีความต้องการ โคเอนไซม์คิวเทน เป็นอย่างมาก นอกจากนี้โคเอนไซม์คิวเทนยังเหมาะกับผู้ที่รับประทานยาลดไขมันกลุ่ม statin เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลต่อการสร้างโคเอนไซม์คิวเทนในร่างกาย จึงพบว่าผู้ที่รับประทานยาลดไขมันกลุ่มนี้ มักเกิดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตามมา

Vitamin B complex
แหล่งอาหาร Vitamin B complex

          Vitamin B complex เป็นวิตามินที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยช่วยควบคุมระดับสารโฮโมซีสเตอีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนตัวหนึ่งที่เกิดจากขบวนการย่อยเมตไธโอนีนในร่างกาย และมีความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุของผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่าระดับโฮโมซีสเตอีนที่สูงขึ้น มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีงานวิจัยว่าวิตามินบี 6, วิตามินบี 12 และวิตามินบี 9 (โฟเลท)  ช่วยทำให้โฮโมซิสเตอีนสลายตัวรวดเร็วจึงป้องกันพิษของมันได้

Policosanol
แหล่งอาหารโพลีโคซานอล (Policosanol)

          โพลีโคซานอล (Policosanol)  สารอาหารจากธรรมชาติ ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม Statin จึงช่วยลดการสร้างคลอเลสเตอรอลที่ตับได้เช่นเดียวกับยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม Statin มีการศึกษาพบว่า Policosanol ขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน มีประสิทธิภาพในการลดระดับ L-cholesterol ได้เทียบเท่ากับยา Simvasstatin และ Pitavastatin ในขนาดเดียวกัน แต่ผู้ที่รับประทาน Policosanol มีผลข้างเคียงน้อยกว่า

Chromium picolinate
แหล่งอาหาร Chromium picolinate

          Chromium picolinate  ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญกลูโคสให้เป็นพลังงาน ช่วยให้อินซูลินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ซึ่งพบว่าหากร่างกายขาดโครเมียม ก็จะทำให้มีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงหรือมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงได้ 

แหล่งอ้างอิง :

  1. ผศ.ดร.นพ.พัฒนา เต็งอำนวย. หนังสือจากAถึงZวิตามินต้านแก่.น้ำมันปลา. หน้า 94-98
  2. ผศ.ดร.นพ.พัฒนา เต็งอำนวย. หนังสือจากAถึงZวิตามินต้านแก่. โคเอนไซม์คิวเทน เพิ่มพลังงานระดับเซลล์. หน้า 152-155
  3. Carlos Eduardo Cabral1 and Márcia Regina Simas Torres Klein1,. Phytosterols in the Treatment of Hypercholesterolemia and Prevention of Cardiovascular Diseases Ioanna Gouni-Berthold 1, Heiner K Berthold. Policosanol: clinical pharmacology and therapeutic significance of a new lipid-lowering agent
  4. หนังสือ anti-aging by dr. mart. Alpha Lipoic Acid. หน้า 94
  5. หนังสือ Prescription for Nutritional Healing 5th ed หน้า 65
  6. ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน. หนังสือหลอดเลือดแข็งตีบตันป้องกันได้. ภาวะหลอดเลือดแข็ง. หน้า107-122 ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน. หนังสือรู้สู้โรค โมเลกุลเพื่อชีวิต ชีวิตเพื่อสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

Shopping Cart
Scroll to Top