กระดูกและข้อไม่มีสแปร์เหมือนเครื่องจักร

Teroflex กระดูกและข้อ ไม่มีสแปร์เหมือนเครื่องจักร
Bone & Joint “Free you Move”​

เนื้อหา

ข้อต่อและกระดูก เป็นโครงสร้างสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติ โดย ข้อต่อ ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างกระดูก และช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น ส่วน กระดูก เป็นโครงสร้างหลักที่รองรับน้ำหนักและปกป้องอวัยวะภายใน ซึ่งเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ดูแลอย่างเหมาะสม หรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบ เช่น การออกกำลังกายหนักเกินไป หรือการใช้งานข้อต่ออย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อ เสี่ยงต่อภาวะข้อเสื่อม และส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกระดูก กระดูกบาง หรือกระดูกพรุนได้  เพราะกระดูกและข้อ ไม่มีสแปร์ ไม่เหมือนเครื่องจักรที่ใช้งานไปนานๆ แล้วจะเปลี่ยนอะไหล่ได้ตามอายุการใช้งาน

ทำไมต้องดูแลกระดูกและข้อ

สุขภาพของกระดูกและข้อในอุดมคติ ต้องประกอบไปด้วย การมีแกนกลางกระดูกที่แข็งแรง ไม่บาง และไม่พรุน มีข้ออ่อนหรือกระดูกอ่อนหุ้มกระดูกที่สมบูรณ์ ไม่สึกหรอ ข้ออ่อนหุ้มกระดูกจะช่วยเพิ่มความลื่นและช่วยให้การเคลื่อนไหวสะดวก และมีน้ำเลี้ยงไขข้อที่เพียงพอ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเสียดสีกัน  แต่เนื่องจาก กระดูก มีกลไกทางธรรมชาติที่คอยควบคุมกระบวนการ สร้างและสลาย ที่เกิดขึ้นเองตลอดเวลา การดูแลข้อต่อและกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาคุณภาพชีวิต ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว 

การทำให้สุขภาพของกระดูกและข้ออยู่ในอุดมคติได้เสมอนั้น ต้องเริ่มจากการลดปัจจัยที่จะไปทำลายกระดูกและข้อ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การยกของหนักๆ การนั่งในท่าเดิมนานๆ หรือแม้กระทั่ง การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป และนอกจากการหลีกเลี่ยงแล้ว เรายังต้องทำร่วมกับการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และ การรับประทานสารอาหารที่ไปช่วยสร้างและซ่อมแซมกระดูก ทำให้การซ่อมแซมเป็นไปได้ด้วยดี เมื่อเราได้รับสารอาหารต่างๆ ที่ดี เพียงพอ และเหมาะสม 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพกระดูกและข้อ

  • อายุที่เพิ่มขึ้น
  • การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูง
  • น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การยกของหนักๆ การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีควเฟอีน
  • การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อกระดูกและข้อต่อ

ภาวะกระดูกบาง

ภายในกระดูกจะมีเซลล์ที่สร้างกระดูก เรียกว่า ออสติโอบลาส (Osteoblast) และเซลล์ที่สลายกระดูก เรียกว่า ออสติโอคลาสต์ (Osteoclast) ซึ่งจะคอยควบคุมการสร้างและสลายของกระดูก ในวัยเด็กจะมีอัตราการสร้างที่มากกว่าอัตราการสลาย เด็กก็จะมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะค่อยๆ ชะลอการสร้างตอนเข้าสู่วัยรุ่น หรือ วัยที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน และเมื่อเข้าสู่วัยชรา หรือ วัยผู้หญิงที่หมดประจำเดือน จะพบว่าอัตราการสลายมากกว่าอัตราการสร้างกระดูก จึงพบว่าคนสูงอายุ มักมีภาวะกระดูกบางมากกว่าวัยอื่นๆ โดยพบว่าหลังหมดประจำเดือนใน 5 ปีแรก กระดูกจะบางลง 25% และจะบางลงไปเรื่อยๆ ตามมาด้วยภาวะกระดูกพรุน และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลแก่ชีวิตได้ 

ภาวะกระดูกบาง
ภาวะกระดูกบาง

ภาวะกระดูกบาง ไม่ได้พบมากเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเท่านั้น ผู้ชายก็พบได้ โดยเฉพาะในวัยสูงอายุมากกว่า 65 ปี  พบว่าอัตราการสูญเสียใกล้เคียงกับวัยหมดประจำเดือน โดยพบว่า ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโตสเตอโรน (Testosterone) มีส่วนช่วยในการรักษามวลกระดูกเช่นเดียวกันกับ เอสโตรเจน (Estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง นอกจากนั้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อมอื่นๆ เช่น การอักเสบจากอนุมูลอิสระ พันธุกรรม น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การยกของหนัก เป็นต้น หรือในผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ให้นมบุตร ก็มีความต้องการแคลเซียมมากขึ้นให้แก่ลูก ก็จะมีความเสี่ยงที่จะกระดูกบางมากขึ้นเช่นกัน

ภาวะกระดูกเสื่อม

ภาวะกระดูกและข้อเสื่อม
ภาวะกระดูกและข้อเสื่อม

าวะกระดูกและข้อเสื่อม แม้ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลง อาจทำให้เราขาดโอกาสที่จะทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับคนที่เรารัก หรือ เสียโอกาสในการทำกิจกรรมต่างๆไป จากผลของการวิจัยต่างๆเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ภาวะกระดูกบางสามารถป้องกันได้ ไม่ใช่ภาวะที่เกิดจากความชราเหมือนการผมหงอก หรือ ผิวเหี่ยวย่น เนื่องจากกระดูกสามารถซ่อมแซมและสร้างตัวใหม่ได้ถ้าได้รับการดูแลที่ดีและได้รับอาหารที่เหมาะสม แต่จะต้องได้รับการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ไม่ใช่รอให้กระดูกบางก่อน ดังนั้นอย่าปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนแก่ชราแล้วค่อยมาเรียกหายาบำรุงข้อ เราควรหันมาเริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพข้อและกระดูกตั้งแต่วันนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า

สารอาหารสำคัญสำหรับกระดูกและข้อต่อ

Calcium
แหล่งอาหารที่พบ แคลเซียม (Calcium)

แคลเซียม Calcium

90% ของแคลเซียม อยู่ในกระดูก ปัญหาของการรับประทานแคลเซียมในปัจจุบันคือ การดูดซึมที่ต่ำ โดยเฉพาะแคลเซียมที่มาจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูน จะมีอัตราการดูดซึมต่ำกว่า เกาะตัวเป็นนิ่วง่าย มีผลข้างเคียงทำให้ท้องผูก ส่วนแคลเซียมที่มาจากพืช เช่น แคลเซียมจากสาหร่าย เมื่อดูที่โครงสร้างของแคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูน พบว่ามีการจับตัวกันที่แน่นหนา ในขณะที่อความินแคลเซียมจากสาหร่ายจะมีโครงสร้างที่หลวมกว่า ทำให้การดูดซึมเข้าสู่กระดูกง่ายกว่า นอกจากนี้อความิน ยังมีแร่ธาตุอื่นๆเป็นส่วนประกอบ นอกเหนือจากแคลเซียมอีกหลายชนิด ที่ช่วยเสริมการสะสมแร่ธาตุและการเจริญของกระดูก

แมกนีเซียม
แหล่งอาหารที่พบ แมกนีเซียม (Magnesium Chelate)

แมกนีเซียม (Magnesium Chelate)

แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากของกระดูก โดยพบว่า 60% ของแมกนีเซียมในร่างกายอยู่ในกระดูก ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1% ของแร่ธาตุในกระดูกทั้งหมด และมีความสำคัญในการสร้างกระดูกเนื่องจากเป็นตัวนำพาเอาแคลเซียมไปสะสมไว้ที่กระดูก ในการรับประทานที่ดีควรทำให้มีสัดส่วนของ แคลเซียมต่อแมกนีเซียม เท่ากับ 2:1

Vitamin D3
แหล่งอาหารที่พบ วิตามินดี (Vitamin D3)

วิตามิน ดี3 (Vitamin D3)

วิตามินดี มีความสำคัญในการช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟตจากลำไส้ไปสะสมไว้ในกระดูก เราสามารถรับวิตามินดีได้ทั้งจากอาหารและแสงแดด ยิ่งเมื่อเรามีอายุมากกว่า 60 ปี ร่างกายเราจะไม่สามารถสร้างวิตามินดีได้เองโดยธรรมชาติ ซึ่งต้องรับประทานจากอาหาร การที่วิตามินดีจะออกฤทธิ์ได้ต้องผ่านการเปลี่ยนรูปที่ตับและไตก่อน ตามลำดับ โดยพบว่าวิตามินดี 3 มีความสามารถในการจับกับตัวรับวิตามินดีบนตับ (VDR receptor) ได้ดีกว่าวิตามินดี 2 ทำให้สามารถเปลี่ยนเป็น Actived vitamin D ได้ดีกว่า

Zinc
แหล่งอาหารที่พบ สังกะสี (Zinc Amino Acid Chelate)

สังกะสี (Zinc Amino Acid Chelate)

สังกะสี เป็น cofactor สำคัญที่ช่วยในกระบวนการสร้างกระดูก มีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีระดับของ ซิงค์ ในร่างกายต่ำ มีความสัมพันธ์กับการเกิดกระดูกพรุน

Copper amino acid chelate
แหล่งอาหารที่พบ ทองแดง (Copper Amino Acid Chelate)

ทองแดง (Copper Amino Acid Chelate)

ทองแดง เป็น Enzymatic cofactor ที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยคงสภาพของกระดูกให้มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง เช่น ช่วยในการสร้างเส้นใยคอลลาเจนและอิลาสติน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กระดูก, เป็น cofactor ของ Antioxidant Enzymes ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระต่างๆที่คอยทำลายกระดูก และ ช่วยยับยั้งกระบวนการทำลายกระดูก เป็นต้น

Vitamin K2
แหล่งอาหารที่พบ วิตามิน เค2 Vitamin K2 (MK-7)

วิตามิน เค2 Vitamin K2 (MK-7)

วิตามินเค เป็นวิตามินที่มีบทบาทหลายอย่าง ตามแต่ชนิดของวิตามินเคชนิด โดยวิตามินเคสองเป็นชนิดที่มีบทบาทสำคัญสำหรับกระดูก เป็นตัวที่คอยจัดระเบียบแคลเซียมให้อยู่เป็นที่เป็นทาง เช่นให้อยู่เฉพาะที่กระดูกและฟัน ไม่ให้มาเกาะตามหลอดเลือดเป็นต้น โดยพบว่าผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือหัวใจอุดตัน มักมีระดับวิตามินเคสองต่ำกว่าปกติ ซึ่งวิตามินเคสองก็ยังแบ่งออกเป็นอีกหลายชนิด โดยชนิดของวิตามินเคสองที่อยู่ในรูปอาหารเสริมที่พบในท้องตลาดปัจจุบัน ได้แก่ ชนิด MK4 และ MK7 ข้อแตกต่างคือ ชนิด MK4 มักจะเป็นแบบสังเคราะห์ แต่ชนิด MK7 จะได้มาจากการหมักจากแบคทีเรีย ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างวิตามินเคสองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ MK7 ยังมีการดูดซึมได้ดีกว่าและอยู่ในร่างกายได้นานกว่าวิตามินเคสองชนิด MK4

Undenatured Collagen Type II : UCII
แหล่งอาหารที่พบ คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Undenatured Collagen Type II : UCII)

คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Undenatured Collagen Type II : UCII)

คอลลาเจนชนิดที่ 2 เป็นคอลลาเจนที่พบได้ในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อและหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งแตกต่างจากคอลลาเจนที่พบในผิวหนัง ซึ่งจะเป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1, 3 และ 4 (Collagen Type 1, 3 และ 4) คอลลาเจนชนิดที่ 2 แบ่งออกเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต โดยพบว่าคอลลาเจนชนิดที่ 2 ชนิด Undenatured Collagen Type II (UCII) เป็นชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับคอลลาเจนชนิดที่ 2 ที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองมากที่สุด เนื่องจากกระบวนการผลิตไม่ผ่านความร้อนสูงและไม่ผ่านการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ มีโครงสร้างเป็นแบบ Triple Helix Structure ทำให้สามารถออกฤทธิ์ได้บริเวณข้อ โดยลดอัตราการทำลายหรือความเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ ส่งผลให้ร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุลของการซ่อมสร้างตามธรรมชาติ

Krill oil
แหล่งอาหารที่พบ น้ำมันคริลล์ (Krill Oil)

น้ำมันคริลล์ (Krill Oil)

น้ำมันคริลล์ ประกอบไปด้วยโอเมก้า 3 ที่จับตัวกับ phospholipids ทำให้มีการละลายน้ำและดูดซึมได้ดี ในโอเมก้า 3 มีส่วนประกอบสำคัญ คือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบในร่างกายได้ นอกจากนี้ในน้ำมันคริลล์ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ Astaxanthin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงที่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระต่างๆในร่างกายได้มากกว่าวิตามินอีถึง 100 เท่า

Turmeric
ขมิ้นชัน (Turmeric)

ขมิ้นชัน (Turmeric)

ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย ถูกนำมาใช้เป็นยาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบในทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ และต้านการอักเสบ ขมิ้นชันทั่วไปมีข้อจำกัดในเรื่องการละลายน้ำ ทำให้การดูดซึมเข้ากระแสเลือดเพื่อไปลดการอักเสบในร่างกายเป็นไปได้ยาก หากเราสามารถพัฒนาขมิ้นชันให้มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดีขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มสรรพคุณด้านการต้านอักเสบได้มากขึ้น สามารถนำมาใช้ในการรักษาการอักเสบต่างๆได้ เช่น กระเพาะอักเสบ ข้อเข่าอักเสบ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง :

  1. หนังสือรู้สู้โรค โมเลกุลเพื่อชีวิต เพื่อสุขภาพ ของ ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน
  2. หนังสือ Prescription for Nutritional Healing 5th ed หน้า 620
  3. Giuseppe Della Pepa, Maria Luisa Brandi. Microelements for bone boost: the last but not the least
  4. J Nutr Metab. Vitamins K1 and K2: The Emerging Group of Vitamins Required for Human Health
  5. https://blog.vitaboost.me/vitamin-k2-ดีต่อหัวใจ/

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

Shopping Cart
Scroll to Top