โพรไบโอติก เพื่อนตัวเล็ก ที่ประโยชน์ไม่เล็ก

Biota5 โพรไบโอติก เพื่อนตัวเล็ก ที่ประโยชน์ไม่เล็ก
Microbiota ‘Little good friends’

เนื้อหา

🌞 จุลินทรีย์ตัวดี เพื่อนแท้ มาเฟียใหญ่ประจำร่างกาย 

      1. ในร่างกายของเรามีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า กระจายตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผม ผิว ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ไปจนถึงช่องคลอด มีทั้งตัวที่น่ารัก และไม่น่ารักปะปนกันไป โดยประชากรส่วนใหญ่คือแบคทีเรีย ถ้าเป็นแบคทีเรียประจำถิ่น หรือ แบคทีเรียตัวดี เราจะรู้จักกันในนาม “โพรไบโอติก(Probiotics)” แต่จริงๆแล้วสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆในร่างกายของเราไม่ได้มีแค่แบคทีเรียเท่านั้น มันยังมีเชื้อไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว อีกด้วย ดังนั้นถ้าจะเรียกให้ถูกควรใช้คำว่า ไมโครไบโอต้า(Microbiota) โดยถ้านำจำนวนของไมโครไบโอต้าทั้งหมดในร่างกายมาชั่งรวมกัน พบว่ามีน้ำหนักเกือบ 2 กิโลกรัม หรือ เกือบเท่ากับขนาดสมองของมนุษย์เลยทีเดียว 

      1. จุลินทรีย์ที่ดีจะช่วยควบคุมสมดุลย์ในร่างกายให้มีสุขภาพดีและปราศจากโรค โดยมีหน้าที่หลัก คือ คอยยึดเกาะตามผนังเซลล์ของอวัยวะต่างๆที่มันอาศัยอยู่ เพื่อไม่ให้เชื้อก่อโรคมารุกราน ช่วยย่อยใยอาหารให้กลายเป็นกรดไขมันสายสั้น ที่เป็นอาหารของผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้แข็งแรงไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ไปจนถึงการกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกาย เป็นต้น

      1. ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่า จุลินทรีย์ตัวดีหลายๆสายพันธุ์สามารถป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อ หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติต่างๆของร่างกาย ช่วยลดความรุนแรงหรือลดระยะเวลาของการเป็นโรคได้ โดยพบว่าการมีจำนวนจุลินทรีย์ตัวดีในลำไส้ลดลงสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืด อ้วน ผิวหนังอักเสบ แผลเรื้อรัง หรือ ผิวหนังอักเสบ

      1. ลำไส้ เป็นอวัยวะที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพมากที่สุด แต่มักถูกละเลย ลำไส้เป็นทั้งสมองที่สองของร่างกาย เนื่องจากมันมีระบบสั่งการการทำงานได้ด้วยตัวเองโดยไม่ผ่านสมอง และ เป็นหน่วยสร้างภูมิต้านทาน โดยพบว่า 70% ของเซลล์ภูมิต้านทานอยู่ที่ลำไส้ งานวิจัยเมื่อไม่นานนี้ ระบุว่า การมีปัญหากระเพาะและลำไส้ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นโรคต่างๆ ง่ายขึ้นด้วย เช่น ไข้หวัด การที่ร่างกายมีสมดุลย์จุลินทรีย์ที่ดี จะทำให้ลำไส้แข็งแรง และเมื่อลำไส้แข็งแรงก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงไปด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า “สุขภาพดี เริ่มต้นที่ลำไส้”

      1. Probiotics ควรกินตอนท้องว่างจะดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร ยกเว้นหาก Probiotics นั้นจะสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารได้ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีเทคโนโลยีของเม็ดแคปซูลที่สามารถช่วยป้องกันกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อให้ไปแตกตัวส่ง Probiotics เหล่านั้นให้ถึงลำไส้ซึ่งมีความเป็นด่างได้อย่างปลอดภัย

    🌞 ทำความรู้จักเพื่อนให้ดี เพื่อนก็จะอยู่กับเราไปอีกนาน

    1. ต่างถิ่น ต่างนิสัย
    • ต่างถิ่น คือ ถ้าแหล่งอาศัยดั้งเดิมในร่างกายของแต่ละสายพันธุ์อยู่บริเวณใด ก็จะมีประโยชน์สำคัญต่ออวัยวะนั้นๆได้ดี เช่น Lactobacillus เปรียบเสมือนผู้พิทักษ์ช่องคลอดและลำไส้, Staphylococcus epidermidis เป็นเจ้าพ่อคุมผิว, Bifidobacteria มักพบมากที่ลำไส้ คอยทำหน้าที่สารพัดประโยชน์ เช่น ช่วยหมักอาหารเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน, ปรับสมดุลภูมิต้านทาน เป็นต้น ดังนั้นเวลาเราจะเลือกรับประทานโปรไบโอติกส์ เราควรเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะกับบริเวณที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพเรา
    • ต่างนิสัย เช่น Bacillus coagulans เป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี ทนได้แม้แต่สภาวะที่เป็นกรด ด่าง หรืออุณหภูมิสูงๆ จึงนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร หรือ เชื้อ Lactobacillus rhamnosus GG เป็นสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตเป็นโคโลนีในลำไส้ได้ดี ก็จะคอยต้านการติดเชื้อในลำไส้และช่วยปรับสมดุลของระบบภูมิต้านทานได้ดี สามารถนำมาใช้รักษาอาการท้องเสียหรือภูมิแพ้ได้ ถ้านำเชื้อ Lactobacillus rhamnosus GG ไปรักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ก็อาจจะไม่ได้ผล เป็นต้น ดังนั้นการรับประทานโปรไบโอติกส์ที่ดี ควรจะรับประทานให้หลากหลายสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพได้หลากหลายด้าน

    2.  พาเพื่อนเข้าบ้านให้ปลอดภัย

                กว่าที่โพรไบโอติกจะเข้าไปถึงที่หมาย(โดยส่วนใหญ่คือบริเวณลำไส้) จะต้องผ่านอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกรดจากกระเพาะอาหาร ด่างจากน้ำดี หรืออุณหภูมิที่สูงระหว่างการขนส่งหรือการเก็บรักษา ถ้าเราเลือกรับประทานสายพันธุ์ที่ไม่ทนต่อสภาพแวดล้อมเหล่านี้ หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแคปซูลที่ดีในการป้องกันการทำลายของกรด ด่าง หรือความชื้น ก็คงไม่ต่างอะไรจากการกินผงแป้งเปล่าๆ

      3.  ทำความสะอาดบ้านต้อนรับเพื่อน

                ใครจะไปอยากอยู่ ถ้าบ้านสกปรกโพรไบโอติกก็เช่นกัน ผนังลำไส้ของเราจะมีส่วนของวิลไล ที่มีลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นออกมาจากผนังลำไส้และจะมีเมือกลื่นๆเกาะติดบริเวณนั้น ซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของจุลินทรีย์ตัวดีต่างๆ ถ้าเราไม่ทำความสะอาดลำไส้ให้ดี หรือ คนที่ท้องผูกบ่อยๆ ก็จะมีคราบตะกรันเกาะติดบริเวณนั้น ไม่เหลือพื้นที่ให้จุลินทรีย์ตัวดียึดเกาะและเจริญเติบโต ดังนั้นการรับประทานโพรไบโอติกให้ได้ผลดี ควรจะต้องทำความสะอาดลำไส้ให้สะอาดก่อน เช่น การดีท๊อกซ์ลำไส้ การทานอาหารที่มีกากใยสูง เป็นต้น เมื่อบ้านน่าอยู่ คู่หูจุลินทรีย์ก็จะเจริญเติบโตกับเราได้ดีขึ้น

      4.  เลี้ยงอาหารเพื่อนให้อิ่ม

                การรับประทานโพรไบโอติกให้ได้ผลดี ก็ควรที่จะรับประทานอาหารเลี้ยงเชื้อ หรือ พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) เข้าไปด้วย พรีไบโอติกส์ในธรรมชาติ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ขึ้นฉ่าย บล็อคโคลี  ธัญพืชต่างๆ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรจะมีทั้งเชื้อและอาหารเลี้ยงเชื้อร่วมกัน หรือเรียกว่า “ซินไบโอติค Synbiotics”

      5.  รักเพื่อน ต้องไม่ทำร้ายเพื่อน

                ถ้าเราเลี้ยงดูเพื่อนเราอย่างดี แล้วอยู่ๆก็ส่งอาวุธไปทำลายล้าง ก็ไม่ต่างอะไรกับเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด อาวุธที่เรามักเอาไปทำร้ายเพื่อนโดยไม่รู้ตัว เช่น การรับประทานยาปฏิชีวนะบ่อยๆ มันจะทำลายล้างแบคทีเรียอย่างไม่เลือกหน้า ทั้งแบคทีเรียตัวร้ายและแบคทีเรียตัวดี, ยาลดกรด จะทำให้สภาพความเป็นกรด-ด่างในทางเดินอาหารเสียไป ก็สามารถรบกวนสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ได้ หรือ การสวนล้างช่องคลอด ที่ทำให้เชื้อ Lactobacillus อยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะในการเจริญเติบโต ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อในช่องคลอดได้ง่าย เป็นต้น ถ้าหากเราหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้ ก็ควรจะหาโพรไบโอติกรับประทาน เพื่อให้สมดุลย์จุลินทรีย์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

      6.  งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา

                เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่โพรไบโอติก ดังนั้นการรับประทานโพรไบโอติกให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี คือ ควรรับประทานให้ต่อเนื่องและยาวนานพอ เพื่อชดเชยส่วนที่ตายไปในแต่ละวัน 

      🌞 ตัวอย่างเชื้อโพรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

                ¤  Bacillus coagulans ปรับลำไส้ เพิ่มภูมิต้านทาน

      ผักกาดดอง มีส่วนประกอบของ Bacillus coagulans
      ผักกาดดอง มีส่วนประกอบของ Bacillus coagulans

                โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ มีจุดเด่น คือสามารถสร้าง endospore เหมือนเกราะคอยปกป้องตัวเอง ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ เช่น มีอัตราการรอดชีวิตสูงแม้เก็บที่อุณหภูมิห้องนานถึง 3 ปี, ทนอุณหภูมิสูงได้ถึง 105 องศาเซลเซียส ทำให้ไม่ถูกทำลายระหว่างกระบวนการผลิตและการขนส่ง, ทนต่อสภาวะกรดในกระเพาะอาหาร และสภาวะของเกลือน้ำดีได้ ทำให้มีปริมาณเชื้อที่เพียงพอที่จะไปถึงลำไส้ใหญ่และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย ประโยชน์ของ B.Coagulans เช่น

      • ท้องผูก โดยพบว่าทำให้อุจจาระมีลักษณะที่ดีขึ้น ลดกลิ่น เพิ่มจำนวนครั้งในการขับถ่ายอุจจาระ โดยพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีอัตราการตอบสนองถึง 70% เมื่อรับประทาน Bacillus coagulans ขนาด 300-750 M CFU/วัน เป็นระยะเวลา 2-10 วัน
      • ลำไส้แปรปรวน จากการศึกษาพบว่า Bacillus coagulans สามารถลดอาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 12 สัปดาห์
      • ท้องเสีย จากการศึกษาพบว่า Bacillus coagulans สามารถลดอาการท้องเสียฉับพลัน ท้องเสียจากการติดเชื้อโรต้าไวรัส และท้องเสียจากการรับประทานยาปฏิชีวนะ ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อรับประทาน Bacillus coagulans ขนาด 100-600 M CFU/วัน เป็นระยะเวลา 2-12 วัน 
      • ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ต่างๆในร่างกาย
      • ช่วยปรับสมดุลของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย
      • ช่วยลดสารก่อการอักเสบ โดยมีการศึกษาในหนู พบว่า Bacillus coagulans สามารถควบคุม pro-inflammatory cytokines จึงช่วยลดการอักเสบในหนูที่เป็นโรครูมาตอยได้
      • ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีการศึกษาพบว่า Bacillus coagulans สามารถลดการเจริญของเซลล์มะเร็งในมนุษย์ได้ โดยไปชักนำการเกิดการตายของเซลล์มะเร็งในลำไส้ใหญ่ (apoptosis)
      • ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ช่วยลดคอเลสเตอรอล, ช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด, ช่วยยับยั้งการติดเชื้อ coli, ช่วยลดอาการ lactose intolerance

                ¤  Lactobacillus rhamnosus GG (LGG) ภูมิแพ้ ผื่นผิวหนัง

      โยเกิร์ต มีส่วนประกอบของ Lactobacillus rhamnosus GG
      โยเกิร์ต มีส่วนประกอบของ Lactobacillus rhamnosus GG

                โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ มีจุดเด่น คือ เจริญเติบโตได้เป็นกลุ่มๆ ทำให้สามารถยึดเกาะผนังลำไส้ได้ดี ไม่หลุดง่าย เป็นสายพันธุ์ที่เด่นในเรื่องของภูมิแพ้ต่างๆ โดยมีการศึกษาถึงความปลอดภัย พบว่าสามารถรับประทานได้ตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการเกิดแพ้ผิวหนังในเด็ก

                มีการศึกษาโดยการให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่มีประวัติการเป็นโรค Atopic Dermatitis หรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รับประทาน LGG จำนวน 10,000 M  CFU/วัน เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ พบว่าลดอุบัติการณ์การเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเมื่อเด็กอายุครบ  2 ปี, 4 ปี, 7 ปี ได้ 49%, 43% และ 36% ตามลำดับ

                ¤  Lactobacillus acidophilus แพ้น้ำตาลแลคโตส

      กิมจิ มีส่วนประกอบของ Lactobacillus acidophilus
      กิมจิ มีส่วนประกอบของ Lactobacillus acidophilus

                โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ มีจุดเด่น คือ ตัวมันสามารถผลิตกรด lactic ได้ โดยการไปผลิตเอนไซม์ lactase ให้ไปย่อยน้ำตาล lactose จากน้ำตาลและนม จนได้เป็นกรด lactic ออกมา ทำให้สามารถใช้ในการบรรเทาอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) หรือที่เรียกว่า “แพ้นม” ได้

                มีการศึกษาในผู้ที่มีภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส โดยให้รับประทาน Lactobacillus acidophilus เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าสามารถบรรเทาอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อย่างมีนัยสำคัญ

                นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาว่า Lactobacillus acidophilus สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ จากการศึกษาในเด็กที่มีอายุ 3-5 ปี จำนวน 326 คน เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่า สามารถลดอุบัติการณ์การเป็นไข้ลงได้ 73%, อาการไอลดลง 62% และลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ 84%

               ¤  Bifidobacterium longum (B. longum)

      Breast Milk พบในน้ำนมแม่

       พบในน้ำนมแม่

                เป็นจุลินทรีย์ตัวดี มักอาศัยอยู่บริเวณทางเดินอาหาร และเป็นแบคทีเรียที่มักพบในน้ำนมแม่ เป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์หลายด้าน เช่น 

      • ลำไส้ ช่วยเรื่องระบบลำไส้ ปรับpH ในทางเดินอาหารให้เหมาะสม เพื่อสร้างสมดุลทางเดินอาหารให้แข็งแรง, ต้านการอักเสบจากโรคโครห์น (โรคที่เกิดการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารหรือลำไส้)และ โรคลำไส้อักเสบ, ลดอาการโคลิกในเด็กทารก เป็นต้น
      • ภูมิแพ้ เพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชื้อต่างๆในร่างกาย, ลดอาการภูมิแพ้ สารก่อภูมิแพ้ต่างๆในร่างกาย
      • นอกจากนี้ ยังช่วยสังเคราะห์วิตามิน B ที่มีผลในการลดระดับ homocysteine ในเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต และมีงานวิจัยพบว่า longum สามารถลดภาวะซึมเศร้าและลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้ด้วย

               ¤  Bifidobacterium lactis (B. lactis)

      Bifidobacterium longum พบในเด็กสุขภาพดีที่ดื่มนมแม่
      Bifidobacterium longum พบในเด็กสุขภาพดีที่ดื่มนมแม่

        • โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ มีจุดเด่น คือ เป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อกรดและน้ำดีในทางเดินอาหาร ทำให้สามารถมีชีวิตรอดถึงลำไส้ มักพบได้ในเด็กสุขภาพดีที่ดื่มนมแม่ ช่วยย่อยอาหาร ลดการอักเสบ ต้านการติดเชื้อ และมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มภูมิต้านทาน

        • LGG และ B. lactis สามารถจับกับไวรัสหลายชนิด เช่น โรต้าไวรัส Rotavirus ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

        • นอกจากนี้มีการศึกษาที่พบว่า B. lactis สามารถป้องกันภาวะอ้วนหลังคลอดได้ โดยพบว่าเมื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกรับประทาน LGG และ B. Lactis ไปจนถึงหลังคลอด 6 เดือน พบภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มที่รับประทานโพรไบโอติก 25% ในขณะกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานโพรไบโอติกมีภาวะอ้วนลงพุงถึง 43%

      —————————————————————————————————————————————

      แหล่งอ้างอิง :

      1. หนังสือ Microbiota อวัยวะที่ถูกลืม โดย หมอผิง พญ. ธิดาดานต์ รุจิพัฒนกุล
      2. Braun, Lesley. Herbs and Natural Supplements, Volume 2. Elsevier Health Sciences APAC. Kindle Edition.
      3. Probiotics. Khow-ean U. Department of Internal Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90110, Thailand Songkla Med J 2006;24(4):315-323

      ผลิตภัณฑ์ที่่แนะนำ

      Shopping Cart
      Scroll to Top